• Thai-centric Innovation for ASEAN Thai-centric Innovation for ASEAN
    หลังเกษียณ มีเงินเท่านี้ ไปอยู่จังหวัดไหนดีถึง “รอด”หลังเกษียณ มีเงินเท่านี้ ไปอยู่จังหวัดไหนดีถึง “รอด”หลังเกษียณ มีเงินเท่านี้ ไปอยู่จังหวัดไหนดีถึง “รอด”หลังเกษียณ มีเงินเท่านี้ ไปอยู่จังหวัดไหนดีถึง “รอด”
    • Show Info
      • Organizer
      • Admission Policy
      • Privacy Policy
    • Exhibitor
      • Why Thailand?
      • Exhibitor Profile
      • Floor Plan
      • Exhibitor List
      • Who You will Meet
    • Visitor
      • Why VIsit
      • Visitor Profile
      • Show Activities
    • Press & Media
      • Subscription
      • News Clipping
      • News Clipping: Thailand Next Normal
      • Press Release
    • Travel & Accommodation
      • About the Venue
      • Visa

    Int'l Health & Wellness Expo for Elderly & Health Conscious People

    • EN
    • TH

    หลังเกษียณ มีเงินเท่านี้ ไปอยู่จังหวัดไหนดีถึง “รอด”

    เมื่ออายุล่วงเลยเข้าเลข 4 เลข 5 หลายคนก็เริ่มวางแผนช่วงบั้นปลายชีวิตหลังเกษียณกันแล้ว บางคนที่เตรียมตัวมาอย่างดี มีเงินเก็บมากพอที่จะไม่ลำบาก ไม่ว่าที่ไหนก็สามารถอยู่ได้ แต่สำหรับบางคนที่มีเงินเก็บจำนวนจำกัด อาจคิดไม่ตกว่า “มีเงินอยู่เท่านี้ แล้วฉันจะไปอยู่ที่ไหนดี? ถึงจะเพียงพอ หรือมีบ้านอยู่ในจังหวัดนั้น ๆ แล้ว จะต้องมีเงินเก็บเท่าไหร่ในวัยเกษียณหลังจากไม่ได้ทำงาน” แม้จะอยู่ในไทยเหมือนเดิม แต่เพราะทุกจังหวัดมีค่าครองชีพที่ไม่เท่ากัน

    ดังนั้น เพื่อให้ทุกคนสามารถวางแผนชีวิตหลังเกษียณให้สอดคล้องและเพียงพอกับเงินที่มีอยู่มากที่สุด สำนักงานสถิติแห่งชาติ จึงได้ทำการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนปี 2562 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างของสมาชิกในครัวเรือน ตั้งแต่ค่าใช้จ่าย ลักษณะที่อยู่อาศัย สวัสดิการและความช่วยเหลือจากรัฐ จากทุกจังหวัดทั่วประเทศ จำนวน 52,000 ครัวเรือน ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่า แต่ละภาคในประเทศไทย จังหวัดใดมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยสูงสุดและต่ำสุด

    #ปริมณฑล
    จังหวัดที่มีค่าใช้จ่ายสูงสุด คือ “ปทุมธานี” เฉลี่ยต่อเดือน 37,086 บาท
    จังหวัดที่มีค่าใช้จ่ายต่ำสุด คือ “สมุทรปราการ” เฉลี่ยต่อเดือน 21,423 บาท

    #ภาคกลาง
    จังหวัดที่มีค่าใช้จ่ายสูงสุด คือ “สระบุรี” เฉลี่ยต่อเดือน 26,007 บาท
    จังหวัดที่มีค่าใช้จ่ายต่ำสุด คือ “สุพรรณบุรี” เฉลี่ยต่อเดือน 14,558 บาท

    #ภาคเหนือ
    จังหวัดที่มีค่าใช้จ่ายสูงสุด คือ “ลำพูน” เฉลี่ยต่อเดือน 19,115 บาท
    จังหวัดที่มีค่าใช้จ่ายต่ำสุด คือ “แม่ฮ่องสอน” เฉลี่ยต่อเดือน 11,243 บาท

    #ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    จังหวัดที่มีค่าใช้จ่ายสูงสุด คือ “บึงกาฬ” เฉลี่ยต่อเดือน 22,225 บาท
    จังหวัดที่มีค่าใช้จ่ายต่ำสุด คือ “กาฬสินธุ์” เฉลี่ยต่อเดือน 13,076 บาท

    #ภาคใต้
    จังหวัดที่มีค่าใช้จ่ายสูงสุด คือ “ภูเก็ต” เฉลี่ยต่อเดือน 32,763 บาท
    จังหวัดที่มีค่าใช้จ่ายต่ำสุด คือ “ยะลา” เฉลี่ยต่อเดือน 13,596 บาท

    #จังหวัดกรุงเทพมหานคร
    มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือน 31,753 บาท

    จากค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของแต่ละจังหวัดในภาคต่างๆ ข้างต้น นอกจากจะทำให้คนที่กำลังก้าวเข้าสู่วัยเกษียณและมีเงินเก็บจำกัด สามารถวางแผนการใช้ชีวิตหลังจากไม่ได้ทำงานได้แล้ว ยังทำให้คนอื่น ๆ ที่ต้องการวางแผนอนาคตล่วงหน้า คำนวณได้ว่าถ้าอยากอยู่จังหวัดไหน ต้องมีเงินเก็บเท่าไหร่ รวมถึงสำหรับใครที่มีบ้านอยู่ในจังหวัดนั้น ๆ แล้ว เมื่อเกษียณไม่ได้ทำงาน จำเป็นต้องมีเงินเก็บเท่าไหร่ถึงจะอยู่รอด ไม่ลำบากลูกหลาน เมื่อมีเป้าหมายที่ชัดเจน ก็จะยิ่งทำให้สามารถวางแผนการเงินและชีวิตได้

    ยกตัวอย่างเช่น คุณเกษียณตอนอายุ 60 ปี มีเงินเก็บอยู่ประมาณ 4,000,000 บาท อยากรู้ว่าถ้าต้องการไปอยู่จังหวัดนั้น ๆ จะอยู่ได้กี่ปี คำตอบคือ ถ้าคุณอยากอยู่กรุงเทพฯ ค่าใช้จ่ายเดือนละ 31,753 บาท จะอยู่ได้ประมาณ 10 ปี หรืออยากไปอยู่ที่มีค่าใช้จ่ายต่ำสุดนั่นคือ “แม่ฮ่องสอน” 11,243 บาทต่อเดือน จะอยู่ได้ประมาณ 29 ปี

    หรือ คุณต้องการเกษียณที่กรุงเทพฯ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 31,753 บาทต่อเดือน แต่คุณเกษียณตอนอายุ 60 ปี และคาดว่าจะมีชีวิตอยู่ถึงประมาณ 90 ปี เท่ากับเวลาหลังจากนั้น คือ 30 ปี หรือคิดเป็นเดือนจะอยู่ที่ 360 เดือน คุณก็จำเป็นต้องมีเงินเก็บที่ประมาณ 31,753 x 360 = 11,431,080 บาท

    อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของแต่ละจังหวัด สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดทุกปี อาจจะต่ำกว่าเดิมหรือสูงกว่าเดิมก็ได้ เพราะฉะนั้น เพื่อให้วัยเกษียณของคุณ ไม่ลำบาก และพักผ่อนได้เต็มที่ คุณควรวางแผนเตรียมการไว้ดีๆ อย่าให้อิสรภาพทางการเงินกับตัวเองมากเกินไป เพียงเพราะคิดว่า อีกนานกว่าจะถึงวันนั้น ทำงาน ใช้เงิน ไปพร้อมๆ กับการเก็บเงินสม่ำเสมอ รับรองว่า เมื่อวันนั้นมาถึง คุณจะเป็นผู้ใหญ่วัยเกษียณที่น่าอิจฉาคนหนึ่งเลยทีเดียว

    ขอบคุณข้อมูลจาก เพจอายุน้อยร้อยล้าน https://web.facebook.com/Ryounoi100lan/photos/a.340037146041395/4011746205537119/
    ที่มา : http://statbbi.nso.go.th/.../TH/report/sector_08_7_TH_.xlsx
    https://www.setinvestnow.com/.../16-affordable-provinces

    ข้อมูลงาน

    • ผู้จัดงาน
    • นโยบายการเข้าชมงาน
    • นโยบายความเป็นส่วนตัว

    ผู้แสดงสินค้า

    • ทำไมต้อง InterCare Asia
    • ประเภทผู้แสดงสินค้า
    • แผนผังแสดงสินค้า
    • รายชื่อผุ้แสดงสินค้า
    • กลุ่มผู้ซื้อเป้าหมาย
    • ดาวน์โหลดข้อมูลสำหรับผู้แสดงสินค้า
    • สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

    ผู้เข้าชมงาน

    • ประโยชน์ในการเข้าชมงาน
    • ประเภทผู้เข้าชมงาน
    • ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน
    • กิจกรรมภายในงาน

    สื่อต่างๆ

    • คลังภาพ
    • สารบัญข่าวของงาน
    • เอกสาร Press Release

    การเดินทาง

    • เกี่ยวกับสถานที่
    • การเดินทางมาร่วมงาน
    • วีซ่า
    © 2021 Intercare Asia. All Rights Reserved.
    Privacy Policy
      TH
      • EN
      • TH
        We use cookies on our website to give you the most relevant experience by remembering your preferences and repeat visits. By clicking “Accept”, you consent to the use of ALL the cookies.
        Cookie settingsACCEPT
        Manage consent

        Privacy Overview

        This website uses cookies to improve your experience while you navigate through the website. Out of these, the cookies that are categorized as necessary are stored on your browser as they are essential for the working of basic functionalities of the website. We also use third-party cookies that help us analyze and understand how you use this website. These cookies will be stored in your browser only with your consent. You also have the option to opt-out of these cookies. But opting out of some of these cookies may affect your browsing experience.
        Necessary
        Always Enabled
        Necessary cookies are absolutely essential for the website to function properly. These cookies ensure basic functionalities and security features of the website, anonymously.
        Functional
        Functional cookies help to perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collect feedbacks, and other third-party features.
        Performance
        Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.
        Analytics
        Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.
        Advertisement
        Advertisement cookies are used to provide visitors with relevant ads and marketing campaigns. These cookies track visitors across websites and collect information to provide customized ads.
        Others
        Other uncategorized cookies are those that are being analyzed and have not been classified into a category as yet.
        SAVE & ACCEPT